มาตรฐานของโรงงานขนาดเล็กที่ผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ควรรู้!

ความสำคัญของมาตรฐานการผลิตแบตเตอรี่ของ โรงงานขนาดเล็ก

โรงงานขนาดเล็กที่ผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า

ความต้องการรถยนต์ไฟฟ้า EV ในประเทศไทยและหลายประเทศทั่วโลกมีอัตราที่สูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยข้อมูลจากสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยได้ระบุไว้ว่าในประเทศไทยนั้นได้มีการจดทะเบียนไปแล้ว 49,952 คัน เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าจากปีที่แล้ว หรือประมาณ 20,815 คัน ตั้งแต่ต้นปี 2566 ทำให้ประเทศไทยของเราเป็นที่หมายตาของ 3 แบรนด์ที่ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าระดับโลก อย่าง บริษัท CATL, BYD และSVOLT เข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพื่อให้เป็นฐานการผลิตสำคัญอีกแห่งหนึ่ง ฉะนั้น ก็ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีสำหรับ โรงงานขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ในประเทศไทยของเรา ที่จะเริ่มพัฒนาศักยภาพและความรู้ในการผลิตแบตเตอรี่หรือชิ้นส่วนสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า นั้นเอง

แต่หัวใจสำคัญของรถยนต์ EV ก็คือแบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้า ที่เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานเพื่อการขับเคลื่อนอย่างราบรื่นได้มากน้อยแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพและมาตราฐานของแบตเตอรี่ที่ใช้ ทำให้มีความจำเป็นในการกำหนดมาตรฐานของแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าที่กำลังจะเข้าเปลี่ยนโลกแห่งการขับขี่ในอนาคตแบบถาวร ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้ขับเคลื่อนนโยบาย EV อย่างต่อเนื่อง โดยเร่งรัดให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) นำมาตรฐานแบตเตอรี่ไฟฟ้า ทั้งมอเตอร์ไซค์และรถยนต์ รวมทั้งสถานีชาร์จ เสนอบอร์ดเพื่อขอความเห็นชอบในการบังคับใช้มาตรฐานโดยกำหนดให้เป็นสินค้าควบคุมเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค

โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดทำมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้าและที่เกี่ยวข้องออกมา โดยประกาศใช้แล้วจำนวน 128 มาตรฐาน เพื่อให้โรงงานขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ที่เป็นฐานการผลิตแบตเตอรี่และอะไหล่ชิ้นส่วนของรถไฟฟ้าได้นำไปใช้เพื่อให้เป็นมาตรฐานการผลิตร่วมกัน เช่น มาตรฐานการผลิตจักรยานยนต์ไฟฟ้า, รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า ระบบการสื่อสารระหว่างรถยนต์ไฟฟ้ากับโครงข่ายไฟฟ้า, ระบบขับเคลื่อนรถยนต์ไฟฟ้า, ระบบเบรกของรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า, เต้าเสียบและเต้ารับสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า, ชิ้นส่วนสำหรับดัดแปลงรถจักรยานยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า, ระบบจอดอัตโนมัติของรถยนต์, สมรรถนะของยานยนต์ไฟฟ้ามอเตอร์สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า, อุปกรณ์ไฟฟ้าในรถยนต์ EV และที่สำคัญคือเซลล์และแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ฯลฯ นั่นเอง

 

แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า ที่โรงงานขนาดเล็กผลิตได้ มีกี่ประเภท

  • แบตเตอรี่ชนิดตะกั่วกรด (Lead Acid Battery) : เรียกได้ว่าเป็นแบตเตอรี่ยุคเก่าที่ใช้ในรถยนต์ที่เป็นเครื่องสันดาป มีทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่ แบตเตอรี่น้ำ แบตเตอรี่แห้ง แบตเตอรี่กึ่งแห้ง โดยในรถยนต์ไฟฟ้านั้นแบตเตอรี่ชนิดนี้สามารถนำมาใช้เป็นแบตเตอรี่สำรอง ซึ่งทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟฟ้าสตาร์ทมอเตอร์ขับเคลื่อน รวมไปถึงระบบ Infotainment มีราคาไม่แพงและมีความปลอดภัย แต่อายุการใช้งานสั้นและมีประสิทธิภาพลดลงเมื่อใช้สภาวะอุณหภูมิต่ำ จึงไม่เหมาะนำมาใช้เป็นพลังงานหลักของรถยนต์ไฟฟ้า

  • แบตเตอรี่ชนิดนิกเกิล-เมทัลไฮไดรด์ (Nickel-metal Hydride Battery / Ni-MH) : นิยมนำมาใช้กับรถยนต์ Hybrid ช่น Toyota Corolla Hybrid, Toyota Camry Hybrid และ Honda Accord Hybrid ที่มีการใช้ทั้งพลังงานไฟฟ้าและน้ำมัน โดยแบตเตอรี่ชนิดนี้มีอายุการใช้งานที่นานกว่า และทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศได้ดีกว่าแบตเตอรี่ชนิดตะกั่วกรด แต่มีราคาค่อนข้างสูง เนื่องจากโรงงานขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ที่ผลิตนั้นจะใช้วัสดุโลหะจำพวก ไทเทเนียมเป็นส่วนประกอบซึ่งเป็นวัสดุราคาแพง

  • แบตเตอรี่ชนิดลิเธียมไอออน (Lithium Ion Battery / Li-ion) : เป็นแบตเตอรี่ที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่สุดในปัจจุบัน ที่นิยมนำมาใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า EV และเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ เช่น Smartphone, Tablet, โน้ตบุ๊คและคอมพิวเตอร์มากที่สุด เพราะมีข้อดีคือ ชาร์จไฟได้ไว จ่ายไฟได้เสถียร ที่สำคัญคือเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพราะสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ (Reuseable) แต่ก็มีข้อเสียอยู่บ้างในเรื่องของประสิทธิภาพการใช้งานที่มีผลกระทบเมื่ออยู่ในอุณหภูมิสูงหรือต่ำเกิน 20 °C–60 °C

    รถยนต์ไฟฟ้า EV ในปัจจุบันที่ใช้แบตเตอรี่ชนิดนี้ ได้แก่ TESLA, ORA Good Cat, Toyota bZ4X, Nissan Leaf, MG ZS EV, MG EP, Hyundai IONIQ 5, Mini Cooper SE, BMW i3, BMW i4, BMW iX, BMW iX3, Audi e-tron และ Porsche Taycan

  • แบตเตอรี่ชนิดโซเดียม-ไอออน (Sodium Ion Battery / Na-Ion Battery) : หรือที่เรียกกันง่ายๆ ทั่วไปว่า แบตฯ เกลือ เป็นแบตเตอรี่ที่มีต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่า Li-Ion Battery ประมาณ 3-4 เท่า เพราะเป็นแร่ธาตุที่หาได้ง่ายกว่า จึงมีราคาถูกกว่า แต่สามารถชาร์จไฟเต็ม 100% ได้ไวประมาณ 20 นาที อีกทั้งยังทนต่อสภาพอุณหภูมิร้อนสูงและหนาวจัด ได้ดีกว่า Li-Ion Battery มีอายุการใช้งานได้ซ้ำมากถึง 8,000 - 10,000 ครั้ง โดยทาง BYD เริ่มเตรียมใช้แบตชนิดนี้กับรถยนต์ Mini Car รุ่น Seagull ในปี 2023 แต่ข้อเสียที่สู้กับแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนไม่ได้ก็คือ มี Energy Density ต่ำกว่า ทำให้รถไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ชนิดนี้ยังวิ่งได้แค่ในระยะสั้น เพราะต้องใช้พลังงานเยอะกว่ารถ EV ที่ใช้แบตเตอรี่ชนิดลิเธียมไอออน

 

มาตรฐานของแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า EV ที่โรงงานขนาดเล็กควรรู้ มีอะไรบ้าง

  1. มาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้า EV ของ สมอ. : อย่างที่เราได้กล่าวไปในข้างต้นว่า ความจริงแล้วในประเทศไทยนั้น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้กำหนดและประกาศบังคับใช้มาตรฐานแบตเตอรี่มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า จำนวน 128 มาตรฐาน โดยในข้อกำหนดจะต้องมีการทดสอบโดยการจำลองสถานการณ์การเกิดอุบัติเหตุ แบตเตอรี่จะต้องไม่เกิดการรั่วไหลของอิเล็กโทรไลต์ (สารเคมีซึ่งอยู่ในแบตเตอรี่ที่อาจติดไฟได้) ไม่มีการแตกร้าว ไม่มีการปล่อยก๊าซออกมาและไม่มีไฟไหม้หรือการระเบิด เป็นต้น เพื่อให้ โรงงานขนาดเล็ก หรือขนาดใหญ่ที่ผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้านำไปใช้และปฏิบัติให้ได้มาตรฐาน

  2. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม 8 ฉบับ : ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าที่ใช้บนถนน และของโมเปดไฟฟ้าและรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ในราชกิจจานุเบกษา ประจำวันที่ 26 มกราคม 2564 ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

    ข้อกําหนดด้านความปลอดภัย สําหรับระบบกักเก็บพลังงานที่สามารถอัดประจุซ้ำได้ (RESS) ของยานยนต์ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าที่ใช้บนถนนเพื่อเป็นการคุ้มครองบุคคล

    • ข้อกําหนดเฉพาะด้านความ ปลอดภัย เล่ม 2
    • ความปลอดภัยในการใช้งานยานยนต์
    • ข้อกําหนดเฉพาะด้านความปลอดภัย เล่ม 3
    • ความปลอดภัยทางไฟฟ้า,ข้อกําหนดเฉพาะด้านความปลอดภัย เล่ม 4
    • ความปลอดภัยทางไฟฟ้าหลังเกิดการชน
    • คําศัพท์และการจําแนกประเภทโมเปดไฟฟ้าและรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า
    • ข้อกําหนดด้านความปลอดภัยของโมเปดไฟฟ้าและรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า

  3. สมรรถนะของโมเปดไฟฟ้าและรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า เล่ม 1 : การใช้พลังงาน และระยะทางอ้างอิง และ สมรรถนะของโมเปดไฟฟ้าและรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า เล่ม 2 : ลักษณะการใช้งาน บนถนน

  4. มาตรฐาน มอก. สำหรับแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า EV : โดยคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (กมอ.) ได้ประการมาตรฐาน มอก. สำหรับการผลิตแบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้า 2 มาตรฐาน ได้แก่
    • มอก. 3026-2563 คือมาตรฐานการผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า
    • มอก. 2952-2561 คือมาตรฐานการผลิตแบตเตอรี่สำหรับจักรยานยนต์ไฟฟ้า

 

ทั้งหมดนี้คือมาตรฐานการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าที่ โรงงานขนาดเล็ก หรือขนาดใหญ่ที่ผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าควรจะต้องรู้และศึกษาไว้ เพื่อนำไปใช้และปฏิบัติให้ได้มาตรฐานเพื่อความปลอดภภัยของผู้บริโภค ซึ่งหากคุณกำลังมองหาฐานการผลิตแห่งใหม่สำหรับการผลิตแบตเตอรี่และชิ้นส่วนสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ที่เราเชื่อว่าในความต้องการของผู้บริโภคจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดย โครงการ ไพร์ม เอสเตท เรา ขายโรงงานขนาดเล็ก, คลังสินค้า ให้คุณเลือกตามความเหมาะสมของธุรกิจคุณ อีกทั้งยังตั้งอยู่บนพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญระหว่างกรุงเทพมหานครและโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) สามารถขนส่งได้หลากหลายช่องทาง เพื่อความสะดวกในการนำเข้าและส่งออกได้เป็นอย่างดี

 

สนใจดูรายละเอียดโครงการ โรงงานขนาดเล็ก, คลังสินค้า, โกดังพร้อมที่ดินทั้งหมดเพิ่มเติมได้ที่
เว็บไซต์: www.primeestate.co.th
โทร : 063 663 6663
Facebook Inbox : m.me/PrimeEstateSME
Line: line.me/R/ti/p/@primeestate
Email : Sales@primeestate.co.th