พื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะอาคารที่ต้องรู้ก่อนสร้างโรงงาน

ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะและโครงสร้างอาคาร โรงงาน และคลังสินค้า

ขายโรงงานขนาดเล็ก

การก่อสร้างโรงงานถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก ดังนั้นการดำเนินการจึงต้องใส่ใจกับทุกรายละเอียด เพื่อให้แน่ใจว่าเมื่อสร้างโรงงานแล้วเสร็จภายใต้ระยะเวลาและงบประมาณ รวมทั้งมีประสิทธิภาพทั้งด้านกระบวนการผลิตและปลอดภัยหรือไม่ เพราะคงปฏิเสธไม่ได้ว่า กุญแจสู่ความสำเร็จ ‘โรงงาน’ ของคุณ ถือว่าประตูด่านแรกที่เป็นรากฐานแห่งความสำเร็จของธุรกิจ


อย่างไรก็ตามในการก่อสร้างโรงงาน หรือซื้อโรงงานสักแห่งนั้น สิ่งสำคัญสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจคือความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะและโครงสร้างอาคารรวมถึงปัจจัยและส่วนประกอบในการตัดสินใจเลือกซื้อหรือก่อสร้างโรงงาน เพราะแม้ว่าในปัจจุบันนี้จะมีบริษัทที่ ขายโรงงานขนาดเล็ก ขายที่ดินพร้อมโรงงาน และขายโกดังพร้อมออฟฟิศ อยู่เป็นจำนวนมากก็ตาม


สิ่งสำคัญหรือปัจจัยพื้นฐานที่ผู้ประกอบการธุรกิจต้องศึกษา เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาวางแผนสร้างโรงงาน มีดังนี้

  1. ลักษณะกระบวนการผลิต ประเภทของกระบวนการผลิตเป็นตัวกำหนดหลักของอาคารโรงงาน ปริมาณน้ำหนักที่กำหนดตัวโครงสร้างของพื้นเพื่อรองรับ รวมไปถึงการพิจารณาถึงประเภทของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่จะใช้ เพราะเมื่อเรารู้ถึงขนาด กว้าง ยาว สูง ของเครื่องจักร จะทำให้เราประมาณการณ์ได้ว่าตัวโรงงานที่เราต้องการจะมีขนาดความกว้างเท่าไหร่ จึงสามารถใช้งานได้ตรงวัตถุประสงค์

    ดังนั้นเริ่มแรกเราควรต้องทราบถึงความต้องการของตัวเราก่อนว่า ต้องการสร้างโรงงานที่มีขนาดเท่าไหร่ หรือแม้กระทั่งการซื้อขายโรงงานขนาดเล็ก และการซื้อขายโกดังพร้อมออฟฟิศ ก็ต้องรู้ขนาดด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งโดยปกติแล้วเรื่องความกว้าง ความยาว จะคำนวณ หรือ ประมาณกันได้ มีเพียงเรื่องของความสูงเท่านั้นที่หลายๆ คนอาจจะยังไม่มั่นใจ ดังนั้น ในการคำนวณความสูงของโรงงานจึงมีหลักง่ายๆ 3 ข้อในการพิจารณาความสูงประกอบด้วย

    · กำหนดตามความสูงของรถยนต์ที่เข้าตัวโรงงาน โดยทั่วไปจะวัดจากความสูงของรถทุกชนิด คือใช้ความสูงสะพานลอยระดับมาตรฐาน 5.5 เมตร เป็นหลัก ประตู 5.5 เมตร ความสูงโกดังอย่างน้อยควรอยู่ที่ 7-8 เมตรขึ้นไป หรือหากต้องการความสูงแบบทั่วไป คือการคำนวณความสูงจากรถสิบล้อ เทเลอร์ ซึ่งรถจำพวกนี้จะสูงไม่เกิน 4-4.5 เมตร ดังนั้น เราทำประตูที่ 5 เมตร ความสูงโรงงาน 6 เมตรถือว่าเป็นความสูงในระดับเริ่มต้น

    · คำนวณความสูงจากการใช้เครนยก ต้องดูสเปคของเครนว่าจากพื้นถึงจุดยกมีความสูงกี่เมตร และจากตัวเครน ถึงหลังคา มีความสูงกี่เมตร เพื่อคำนวณความสูงรวมของโรงงานหรือโกดังที่เราจะสร้าง

    · คำนวณความสูงของโรงงานจากความต้องการความโปร่ง โล่ง สบาย ของเจ้าโรงงานเอง ซึ่งการคำนวณความสูงของโรงงานตามความต้องการของเจ้าของโรงงานนี้ ส่วนใหญ่แล้วเจ้าของธุรกิจและโรงงานจะมีการศึกษาข้อมูล และมีความรู่ในด้านการก่อสร้างโรงานของตนเองดีอยู่แล้ว ขณะเดียวกันเจ้าของธุรกิจที่มีความต้องการโรงงานที่สูงในระดับที่ต้องการนั้นจะเตรียมพร้อมในด้านงบประมาณการก่อสร้างไว้แล้ว

  2.  แผนผังโรงงานและการจัดวางเครื่องจักร ก็มีความสำคัญต่อรูปแบบ ขนาดความกว้าง และความสูงของโรงงานที่จะก่อสร้าง เพราะการแผนผังโรงงานโรงงานนั้นมีความสำคัญอย่างมากต่อการออกแบบและก่อสร้างอาคารโรงงาน นอกจากนี้แล้วการกำหนดรูปแบบก่อนที่จะดำเนินการก่อนสร้าง ยังต้องมีการจัดเตรียมพื้นที่เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นในด้านกำลังการผลิตในอนาคตด้วย

  3. ในการออกแบบอาคาร แม้ว่าจะโรงงานที่สร้างขึ้นเอง หรือรูปแบบการขายโรงงานขนาดเล็ก และขายโกดังพร้อมออฟฟิศ แต่ที่สำคัญอย่างมากคือ เรื่องของระบบการป้องกันอันตรายที่เกิดจากอุบัติภัยต่างๆ เช่น อัคคีภัย การโจรกรรม ฯลฯ เช่น การเตรียมระบบสปริงเกอร์ ทางออกหนีไฟ สัญญาณเตือนภัยอัตโนมัติ ก๊อกน้ำภายนอกอาคาร ไฟนิรภัย ฯลฯ นอกจากนี้ยังต้องจะวางระบบแสงสว่างภายในโรงงานให้เหมาะสมและเพียงพอ เพราะระบบแสงสว่างมีอิทธิพลอย่างมากต่อผลผลิตและความเหนื่อยล้าของพนักงาน ดังนั้นควรคำนึงถึงมาตรฐานแสงสว่างระหว่างการวางแผนโรงงานจึงเป็นเรื่องสำคัญที่มองข้ามไม่ได้

  4. การบริหารจัดการวัสดุให้มีประสิทธิภาพสูงสุด อาทิ การลดเวลาในการผลิต หลีกเลี่ยงปัญหาคอขวดในการผลิต และลดต้นทุนการจัดการวัสดุ มีการใช้เครน รอกสายพานลำเลียง ฯลฯ มากขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการจัดการวัสดุ การลดจำนวนเสา และการบำรุงรักษาเพดานในระดับความสูงที่ต้องการมีความสำคัญต่อการใช้อุปกรณ์ขนถ่ายวัสดุ

  5. การคำนึงถึงต้นทุนการก่อสร้าง ก็เป็นอีกส่วนที่มีสำคัญที่สุดของการก่อสร้างอาคารโรงงาน เพราะการวางแผนการจัดการที่ดีขึ้น และการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ จะสามารถลดต้นทุนการก่อสร้างได้อย่างมาก โดยปกติ ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากการดำเนินการล่าช้า อย่างไรก็ตาม ในการที่จะควบคุมต้นทุนการก่อสร้างให้มีประสิทธิภาพมาที่สุดเลยนั้น สิ่งแรกที่ต้องทำคือการ ตั้งงบก่อสร้าง เพื่อให้สามารถประมาณการณ์งบลงทุนได้ เราจึงจำเป็นต้องรู้ขนาดพื้นที่การก่อสร้าง ที่เหมาะสมกับกำลังการผลิตสินค้าของเราก่อน เพื่อใช้คำนวณงบประมาณการก่อสร้างต่อตารางเมตร ซึ่งจะทำให้ราคำนวณงบการก่อสร้างได้คร่าว ๆ ว่าต้องใช้งบมากน้อยเท่าไหร่

    เมื่อเราพอจะคาดการณ์งบก่อสร้างได้คร่าวๆ แล้วว่าต้องใช้งบลงทุนเท่าไหร่ ก็จะทำให้ง่ายต่อการควบคุมงบประมาณการก่อสร้างได้โดยการทำสัญญาจ้างออกแบบและก่อสร้าง ซึ่งหากได้บริษัทรับเหมาก่อสร้างที่มีมาตรฐานและมีประสบการณ์มาก่อน ก็จะช่วยให้สามารถควบคุมต้นทุนได้ในระดับที่ต้องการ เพราะผู้รับเหมาจะสามารถคำนวณค่าก่อสร้างต่อตารางเมตรออกมาได้อย่างชัดเจน และยังสามารถกำหนดระยะเวลาก่อสร้างที่ชัดเจนทำให้ไม่เกิดปัญหาความล่าช้าในขั้นตอนก่อสร้างจนเกิดปัญหางบก่อสร้างบานปลายตามมา

  6. การจัดหาผู้รับเหมาก่อสร้าง หลังจากที่คำนวณงบก่อสร้างได้แล้ว มีแบบการก่อสร้างโรงงานในใจแล้ว สิ่งสำคัญต่อมาคือการจัดจ้างบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่จะมาก่อสร้างโรงงาน เพื่อมารับงานก่อสร้างโรงงาน ซึ่งต้องเป็นผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์ เคยผ่านงานก่อสร้างโรงงานและได้รับความไว้วางใจจากที่ปรึกษาที่มีชื่อเสียงซึ่งมีประสบการณ์ในการก่อสร้างอาคารอุตสาหกรรม การออกแบบโรงงานและผังโรงงานมาก่อน แต่หากเป็นกรณีที่เราจะซื้อโรงงานจากบริษัทหรือผู้พัฒนาโรงงาน ขายโรงงานขนาดเล็ก ขายที่ดินพร้อมโรงงาน และขายโกดังพร้อมออฟฟิศแทนการก่อสร้างโรงงานเองนั้น ก็จำเป็นต้องเลือกบริษัทที่มีประสบการณ์และที่สำคัญคือ ทำเลที่ตั้งโรงงานนั้นจะต้องมีระบบคมนาคมรองรับที่ดี และสะดวกในการจัดส่งสินค้า เช่น มีที่ต้องอยู่ใกล้ท่าเรือ หรือ สนามบิน

  7. ต้องมีการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับโรงงาน ทั้งรูปแบบของการสร้างเอง หรือรูปแบบที่มีการขายโรงงานขนาดเล็ก และขายโกดังพร้อมออฟฟิศ โดยต้องพิจารณาปัจจัยดังต่อไปนี้ คือ ควรเลือกอาคารในตำแหน่งที่มีพื้นที่สูงเล็กน้อยมากกว่าจะเป็นการสร้างอาคารบนพื้นราบ และหลีกเลี่ยงสถานที่ต่ำ นอกจากนี้ควรพิจารณาลักษณะของดิน เพื่อรองรับน้ำหนักของอาคารและโรงงาน รวมทั้งมีการระบายน้ำที่ดี และควรหลีกเลี่ยงดินเหนียวในบริเวณที่มีการถมดินแล้ว เพราะเสี่ยงต่อการทรุดตัว

  8. มาตรฐานการก่อสร้างโรงงาน ในระดับพื้นฐาน โรงงานควรจะทำความสะอาดง่ายและบำรุงรักษาและควรจัดให้มีสภาพการทำงานที่ดี กรณีจำเป็นต้องขุดฐานรากลงไปให้ถึงจุด แรงดันดินแบก 150 kN/m2 หรือดีกว่านั้น เพื่อให้พื้นต้องรับน้ำหนักเครื่องจักรและอื่นๆ และพื้นควรประกอบด้วยแผ่นเสริมแรง คอนกรีตวางบนแกนแข็งอัดแน่นด้วยความชื้นกั้นขวางระหว่างทั้งสอง ที่กั้นความชื้นนี้ ควรประกอบด้วยชั้นของ bitumen หรือ asphalt, bitumen felt หรือฟิล์มโพลีเอทิลีน

  9. การสร้างโรงงานหรือรูปแบบการซื้อขายโรงงานขนาดเล็ก และการซื้อขายโกดังพร้อมออฟฟิศที่มีความยั่งยืนกับสิ่งแวดล้อม บรรเทาผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมความปลอดภัยและความสะดวกสบายของผู้ปฏิบัติงาน พร้อมทั้งดำเนินธุรกิจที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน จะส่งผลดีต่อแบรนด์และได้รับการยอมรับจากลูกค้าโดยเฉพาะลูกค้าจากประเทศยุโรปและอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่

  10. ความพร้อมในที่ดิน ปัจจุบันมีรูปแบบการขายที่ดินพร้อมโรงงาน ซึ่งหลักเกณฑ์ในการพิจารณาที่ดิน คือ ขนาดพื้นที่ที่ต้องใช้งาน เช่น ความกว้างว่าจะต้องเท่าไหร่ ความยาว กี่เมตร พื้นที่รอบข้างติดอะไรบ้าง


ทั้งนี้เมื่อเรามีความพร้อมทางด้านที่ดินแล้วก็จะทำให้เราสามารถ นำโฉนด ไปสอบถามและหารือกับ เขต เทศบาล หรือ อบต. เพื่อตรวจสอบระยะว่าหากจะสร้างโรงงานในแปลงที่ดินที่เรามีอยู่นั้นจะต้องมีการเว้นระยะถอยร่นเท่าไหร่ เพื่อความยืนยันแน่นอนว่า สิ่งที่เราขออนุญาต จะเป็นโรงงาน โกดัง คลังสินค้า พื้นที่ที่เราสร้างจะได้หรือไม่ได้ จะต้องร่นระยะเท่าไหร่ เพราะ ถ้าหากไม่รู้ขนาดที่ดินตนเอง หรือ ขนาดที่ดินที่เราจะสร้างโรงงาน เมื่อเรารู้ระยะร่น หรือขนาดโรงงาน ที่เราสร้างได้แล้ว ถ้าเหมาะสมกับ ขนาดที่เราต้องการสร้าง ก็สามารถดำเนินการก่อสร้างได้เลย แต่ถ้าไม่เหมาะสมก็ต้องหาทางปรับพื้นที่อีกครั้งหนึ่ง

สำหรับผู้ที่มีความสนใจและต้องการเริ่มต้นดำเนินธุรกิจ SMEs โดยกำลังมองหาทำเลดีๆ ไพร์ม เอสเตท มีรูปแบบการขายโรงงานขนาดเล็ก ขายที่ดินพร้อมโรงงาน และขายโกดังพร้อมออฟฟิศ ให้เลือกหลากหลายตามความต้องการ โดย เราพร้อมให้บริการข้อมูลด้านการจัดตั้งโรงงานแบบพร้อมเข้าใช้ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจที่เหมาะสมให้กับท่าน

 

สนใจดูรายละเอียดโครงการ โรงงานขนาดเล็ก, คลังสินค้า, โกดังพร้อมที่ดินทั้งหมดเพิ่มเติมได้ที่
เว็บไซต์: www.primeestate.co.th
โทร : 063 663 6663
Facebook Inbox : m.me/PrimeEstateSME
Line: line.me/R/ti/p/@primeestate
Email : Sales@primeestate.co.th